หน่วยที่ 2 การถ่ายทำและเตรียมข้อมูลอื่นๆ
ที่ต้องใช้ประกอบ
การถ่ายทำและเตรียมข้อมูลอื่นๆ ที่ต้องใช้ประกอบ
หลังจากที่วางแผนทุกอย่างเรียบร้อย
ก็มาถึงขั้นตอนที่เราต้องออกไปถ่ายทำงานวีดีโอ ในการทำงานวีดีโอหนึ่งเรื่อง
บางครั้งก็ไม่ได้อาศัยข้อมูลจากการถ่ายทำด้วยตัวเองเพียงอย่างเดียว
เราอาจใช้แหล่งข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก เช่น รูปภาพในอินเทอร์เน็ต ดนตรีประกอบ
Sound
Effect ไฟล์วีดีโอจากแหล่งอื่นๆ เป็นต้น
เทคนิคการถ่ายภาพวิดีโอ
มุมกล้อง
การถ่ายภาพในมุมที่ต่างกัน
ยังมีผลต่อความคิดความรู้สึกที่จะสื่อความหมายไปยังผู้ดูได้
เราอาจแบ่งมุมกล้องได้เป็น 3 ระดับ คือ
1.
ภาพระดับสายตา คือ การถ่ายภาพในตำแหน่งที่อยู่ในระดับสายตาปรกติที่เรามองเห็น
ขนานกับพื้นดิน ภาพที่จะได้จะให้ความรู้สึกเป็นปรกติธรรมดา
2.
ภาพมุมตำการถ่ายภาพในมุมต่ำ คือ การถ่ายในตำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุ
จะให้ความรู้สึกถึงความสูงใหญ่ ยิ่งใหญ่กว่าความเป็นจริง แสดงถึงความสง่า
3.
การถ่ายภาพมุมสูง คือ การตั้งกล้องถ่ายในตำแหน่งที่สูงกว่าวัตถุ
ภาพที่ได้จะให้ความรู้สึกถึงความเล็กความต้อยต่ำ ไม่มีความสำคัญ
เทคนิคการซูมและการโพกัส
1.
ในขณะที่ซูมไม่ควรเดินหรือเคลื่อนไหว เพราะจะทำให้วีดีโอที่ได้มีโอกาสสั่นไหวสูง
2.
หากต้องการเคลื่อนที่ด้วยขณะซูม ขอแนะนำให้ดึงซูมออกมาให้สุดก่อน
แล้วค่อยกดปุ่มบันทึก จากนั้นให้เดินเข้าไปแทนการซูมเลนส์
3.
อย่าสนุกกับการซูมจนมากเกินไป
เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่เพิ่มเริ่มเล่นกล้องมักจะชอบดึงซูมเข้า/ออก
ทำให้ภาพที่ได้น่ามึนหัว เหมือนกำลังกระแทรกกำแพงโป๊กๆ ที่จริงแล้วการซูมจะทำเมื่อต้องการดูรายละเอียดของเหตุการณ์
เพื่อบ่งบอกเรื่องราว หรือซูมออกเพื่อแสดงภาพรวมของเหตุการณ์นั้นๆ พูดง่ายๆ
จะซูมก็ควรมีเหตุมีผลมีเรื่องราวที่จะเล่าจากการซูมจริงๆ
4.
ควรหยุดซูมเสียก่อนค่อยเคลื่อนไหวกล้อง หรือซูมก่อนบันทึกภาพ
จุดนี้จะช่วยให้วีดีโอที่ได้น่าสนใจมากขึ้น เช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในท้องทะเล
อาจจะตั้งกล้องซูมเข้าไปที่เรือจากนั้นกดปุ่มบันทึก แล้วค่อยๆ ซูมออกมาให้เห็นท้องทะเล
การแพนกล้อง
การแพนกล้องที่ดีต้องมีจังหวะที่จะแพน
คือต้องมีจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการแพน
จุดนี้เองคนที่อยู่เบื้องหลังคอยตัดต่อภาพทั้งหลายมันเป็นเรื่องยุ่งยากที่
จะตัดต่อภาพ โดยมีภาพทีแกว่งไปแกว่งมา หรือวูบวาบไปมา เมื่อนำมาร้อยใส่ภาพนิ่งๆ จะรู้สึกได้เลยว่าไม่เข้ากัน
พลอยทำให้ดูไม่รู้เรื่องเข้าไปใหญ่ ไม่นิ่มนวลสมจริง บางครั้งรู้สึกว่าโดดไปโดดมา
หากจะให้ตัดต่อได้สะดวกและภาพสมบูรณ์ การแพนจะต้องมีจุดเริ่ม
คือเริ่มจากถือกล้องให้นิ่งเสียก่อน จากนั้นกดปุ่มบันทึกภาพแล้วค่อยแพน และจุดจบ
คือนิ่งทิ้งท้ายตอนจบอีกเล็กน้อย เพื่อบอกคนดูให้เตรียมพร้อมและพักสายตาระหว่างชมภาพ
การบันทึกเป็นช็อต
“ช็อต” คือการเริ่มบันทึก
เพื่อเริ่มเทปเดินและเริ่มบันทึกลงม้วนเทป จนกระทั่งกดปุ่ม Rec อีกครั้ง เพื่อเลิกการบันทึก แบบนี้เค้าเรียกว่า 1 ช็อต การถ่ายเป็นช็อต ไม่ควรปล่อยให้ช็อตไม่ควรปล่อยให้ช็อตนั้นยืดยาวไปนัก
คือไม่ควรเกิน 5 วินาทีต่อ 1 ช็อต
วิธีการบันทึกเป็นช็อต
การถ่ายเป็นช็อตนี้
จะต้องเลือกมุม เลือกระยะที่จะถ่ายก่อน
เลือกว่าจะถ่ายแบบไหนที่จะได้องค์ประกอบครบถ้วน ยกกล้องขึ้นส่อง จัดองค์ประกอบ
แล้วถือให้นิ่ง กดบันทึก นับ 1-2-3-4-5 แล้วกดหยุด ในระหว่างกดบันทึกห้ามสั่น
ห้ามไหวเด็ดขาด วิธีการไม่ยากนัก โดยให้รอจังหวะ หลักการง่ายๆ คือนิ่งๆ เข้าไว้
และไม่จำเป็นต้องถ่ายทั้งหมดหรือถ่ายยืดยาว เลือกแค่เป็นช็อตสำคัญก็พอ
รูปแบบการบันทึกเป็นช็อต
Wide Shot
(WS) “Extreme Long Shot” เป็นการถ่ายวิดีโอที่โชว์ภาพโดยรวม
หรือเปิดให้เห็นทั้งวัตถุหลักที่อยู่ท่รามกลางบรรยากาศรอบข้าง
Long Shot
(LS) เป็นการซูมเข้ามาเพื่อเก็บรายละเอียดของวัตถุหลักมากขึ้น
แต่ยังคงเก็บภาพแวดล้อมรอบข้างไว้ด้วย เพื่อบอกเล่าเรื่องราว
Medium Shot ยังแบ่งเป็น Medium Long Shot,Medium Shot,Medium Ciose-up Shot
(MCU) เป็นการเก็บรายละเอียดเฉพาะส่วนบนหรือครึ่งบนขอวัตถุหรือเรียกว่าการถ่ายภาพครึ่งตัวของภาพนั้นๆ
Close-up Shot
(CU) เป็นการซูมให้เห็นเฉพาะวัตถุหลัก โดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
เพื่อให้เห็นว่าต้องการระบุ รายละเอียดเฉพาะวัตถุเท่านั้น ถ้าเป็นการถ่ายวิดีโอบุคคลก็จะเก็บภาพตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป
ข้อดีของการบันทึกเป็นช็อต
ช็อตมุมกว้าง
คือ บอกให้รู้สถานที่ และให้ได้รู้ว่าเป็นงานอะไร สถานที่ที่ไหน
หากว่าถ่ายเห็นป้ายของงงานเข้าไปด้วยยิ่งดี การถ่ายแบบนี้ดูเป็นเรื่องเป็นราว
บอกเล่าเรื่องราวตามลำดับขั้น ว่ามีใครทำอะไรบ้างไม่ว่าจะเป็นงานพิธีหรือถ่ายกันเล่นๆ
เพราะว่าภาพจะสลับมุมต่างๆ มาให้ชมเป็นระยะทำให้ไม่น่าเบื่อ
ช็อตการแพน การ
ยกกล้องขึ้นลงการซูม การเล่นมุมกล้องแบบต่างๆ หรือเล่นมุมกล้องเอียงก็ทำได้เช่นกัน
แต่ว่าต้องเริ่มต้นด้วยหลักการถ่ายเป็นช็อตๆ ให้กระชับและไม่ยืดยาดจะทำให้คนดูไม่เบื่อ
ที่มีแต่ภาพแข็งๆทื่อๆดูแล้วไม่มีชีวิตชีวา
เทคนิคการเคลื่อนที่กล้องโดยไม่ให้สั่นไหว
“การไวด์” หรือ” Wide Shot” เป็นวิธีที่ช่วยอำพรางการสั่นไหวของกล้องได้ซึ่งแม้ว่ากล้องจะสั่น
ภาพจะไหว แต่ก็ยังไม่เห็นความแตกต่างเพราะว่ามันมีภาพมุมกว้างที่หลอกตาอยู่
ถ้าหากต้องการที่จะเดินถือกล้องถ่ายแบบนี้ละก็ จะต้องเลือกระยะกล้องที่ไกลสุด
โดยการดึงภาพด้วยการซูมออกมา เรียกว่า”ลองช็อต“(Long
Shot) เป็นประคองกล้องเดินช้าๆแบบนุ่มนวล โดยไม่ต้องซุฒเข้าไปอีก
ควรปล่อยให้เป็นภาพมุมกว้างเข้าไว้
การเดินก็สำคัญหากมัวแต่เดินจำพรวดทิ้งน้ำหนักตัวแบบเต็มที่แบบนี้ภาพที่ได้จะกระตุกเป็นจังหวะแน่ๆก็ขอแนะนำให้การเดินถ่ายกล้องนั้นต้องระวังทุกฝีเท้า
การเดินด้วยปลายเท้า เกร็งและย่อขาเล็กน้อยจะช่วยให้กล้องนิ่งและมั่นคงขึ้น
ช่วยให้เดินถ่ายวิดีโอได้อย่างมีคุณภาพ ภาพที่ได้จะนิ่งการถือกล้องแบบแบกบ่า
บางครั้งอาจจะไม่ถนัดสำหรับเดินถ่ายเสมอไป สามารถแก้ไขด้วยการลดกล้องมาอยู่ในมือ
ในอ้อมแขนนั้นจะเป็นการดี เพราะช่วยประคองกล้องได้อีกชั้นด้วยซ้ำไป
แถมอาจจะได้มุมที่แปลกตาไปจากการแบกบนบ่า
การถ่ายให้กระชับ
การถ่ายให้กระชับ
หมายความว่า การถ่ายวิดีโอที่พยายามให้ภาพนั้นสื่อความหมายในตัวเองมากที่สุด
โดยสามารถเล่าเรื่องราวได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
นี่จะช่วยให้เราไม่ต้องเก็บภาพมามากมายและยืดยาว
ก็สามารถเข้าใจได้ว่าในเหตุการณ์นั้นๆ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น