หน่วยที่ 1 การวางแผนและเตรียมงาน
การวางแผนและเตรียมงาน
อันดับแรกของการทำงานวีดีโอทุกงาน
ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายงานพิเศษต่างๆ ทำสารคดี หนังสั้น หรือทำสื่อการเรียนการสอน
สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการวางแผน
การวางแผนทำให้รู้ว่าควรจะถ่ายอะไรมาบ้าง
อะไรที่จำเป็นต้องเก็บภาพ หรืออะไรที่ไม่จำเป็นต้องเก็บ
เพราะบ้างครั้งโอกาสก็ไม่สามารถหวนกลับมาอีก เช่น ถ้าเราถ่ายงานแต่งเพื่อน
แต่ไม่ได้ศึกษามาก่อนว่าควรจะถ่ายภาพในช่วงใดบ้าง
หรือควรจะถ่ายใครที่เป็นแขกพิเศษหรือไม่
เมื่อถึงเวลาก็อาจจะพลาดช่วงเวลาสำคัญไปได้
หรือบางครั้งต้องเดินทางไปถ่ายทำในที่ไกลๆ
หากวางแผนไม่ดีอาจจะพลาดไม่ได้ถ่ายบางส่วนมา จะกลับไปถ่ายใหม่ก็ไม่ได้แล้ว เป็นต้น
สิ่งที่เราสามารถทำในการวางแผนมีดังนี้
จัดทำสคริปต์การถ่ายทำ
หรือสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
สคริปต์การถ่ายทำหรือสตอรี่บอร์ด
จะช่วยทำให้เรารู้ว่าจะต้องถ่ายทำอะไรบ้าง และถ่ายทำในเวลาใดเรียงลำดับกันไป
บางครั้งการถ่ายทำอาจจะข้ามไปข้ามมา ไม่ได้เรียงตามเนื้อหาจริงๆ เพราะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเวลาในการถ่ายทำ
สคริปต์ และสตอรี่บอร์ดก็ช่วยเราได้มากในตอนนี้
จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
เช็คอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ให้เรียนร้อยก่อนออกไปถ่ายทำ
ดูว่าแบตเตอรี่ชาร์จแล้วหรือยัง จะพอถ่ายหรือไม่ จะใช้ม้วนวีดีโอม้วนไหนในการถ่าย หรือจะต้องเตรียมไฟไปด้วยเผื่อช่วงกลางคืนหรือไม่
นัดคนไว้พร้อมแล้วหรือยัง สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เราไม่ผิดพลาดในการถ่ายทำ
การจัดทำสคริปต์การถ่ายทำ หรือ Storybord
ความหมายของสตอรี่บอร์ด
(Story
Board)
สตอรี่บอร์ด (Story
Board) คือการเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง
โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ
ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี
เสียงพูดและแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน-หลัง
อะไรจะปรากฏพร้อมกัน
เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือ
หนังขึ้นมาจริงๆ
•
Storyboard คือ
การสร้างภาพให้เห็นลำดับขั้นตอนตามเนื้อเรื่องที่ต้องการ โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว
•
รายละเอียดที่ควรมีใน Storyboard ได้แก่
คำอธิบายแต่ละสื่อที่ใช้ (ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิโอ)
หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด
รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย 2
ส่วนคือ ส่วนภาพกับส่วนเสียง โดยปกติการเขียนสตอรี่บอร์ด
ก็จะวาดภาพในกรอบสี่เหลี่ยม ต่อด้วยการเขียนบทบรรยายภาพหรือบทการสนทนา
และส่วนสุดท้ายคือการใส่เสียงซึ่งอาจจะประกอบด้วยเสียงสนทนา เสียงบรรเลง
และเสียงประกอบต่างๆ
สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในสตอรี่บอร์ด
ประกอบด้วย
1. ตัวละครหรือฉาก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ
สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญ คือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
2. มุมกล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ
มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง
3. เสียงการพูดกันระหว่างตัวละคร มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร
ข้อดีของการทำ
Story
Board
1. ช่วยให้เนื้อเรื่องลื่นไหล
เพราะได้อ่านทวนตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะลงมือวาดจริง
2. ช่วยให้เนื้อเรื่องไม่ออกทะเล
เพราะมีแผนการวาดกำกับไว้หมดแล้ว
3.
ช่วยกะปริมาณบทพูดให้พอดีและเหมาะสมกับหน้ากระดาษและบอลลูนนั้น ๆ
4. ช่วยให้สามารถวาดจบได้ในจำนวนหน้าที่กำหนด
(สำคัญสุด!)
ขั้นตอนการทำ Story Board
1.วางโครงเรื่องหลัก ไม่ว่าจะเป็น Theme,
ตัวละครหลัก, ฉาก ฯลฯ
1.1 แนวเรื่อง
1.2 ฉาก
1.3
เนื้อเรื่องย่อ
1.4 Theme/แก่น
(ข้อคิด/สิ่งที่ต้องการจะสื่อ)
1.5
ตัวละคร
สิ่งสำคัญคือกำหนดรูปลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัวให้โดดเด่นไม่คล้ายกันจนเกิน
ไป ควรออกแบบรูปลักษณ์ของตัวละครให้โดดเด่นแตกต่างกัน
และมองแล้วสามารถสื่อถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้ทันที
2.
ลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ
จุดสำคัญคือ
ทุกเหตุการณ์จะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
เหตุการณ์ก่อนหน้าจะทำให้เหตุการณ์ต่อมามีน้ำหนักมากขึ้น และต้องหา จุด Climax
ของเรื่องให้ได้
จุดนี้จะเป็นจุดที่น่าตื่นเต้นที่สุดก่อนที่จะเฉลยปมทุกอย่างในเรื่อง
การสร้างปมให้ผู้อ่านสงสัยก็เป็นจุดสำคัญในการสร้างเรื่อง
ปมจะทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามในใจและคาดเดาเนื้อเรื่องรวมถึงตอนจบไปต่าง ๆ นานา
3. กำหนดหน้า
4. แต่งบท
เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนลงมือวาดสตอรี่บอร์ด
ควรเขียนบทพูดและบทความคิดที่จะใช้เขียนลงในหนังออกมาโดยละเอียดเพื่อที่จะได้กำหนดขนาดของบอลลูนและจัดวางลงบนหน้ากระดาษได้อย่าเหมาะสม
5. ลงมือเขียน
Story Board
ตัวอย่างสตอรี่บอร์ด (Story
Board)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น